หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท

       สำนักหอสมุด มีแผนการดำเนินงานและแนวทางการจัดการขยะ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว และได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลในแต่ละในแต่ละส่วน 
       ทั้งนี้ได้มีจัดวางถังขยะแยกประเภท และติดป้ายแสดงประเภทของขยะแต่ละชนิด ซึ่งสำนักหอสมุดได้แบ่งประเภทขยะออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) ขยะเปียก 2) ขยะทั่วไป 3) ขยะ รีไซเคิล และ 4) ขยะอันตราย รวมทั้งได้รณรงค์ให้ทุกฝ่าย ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร แก้วน้ำส่วนตัวแทนการใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟม รวมทั้งให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงในถังขยะ ทั้งนี้ได้เชิญชวนให้บุคลากรลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  โดยได้จัดกิจกรรมประกวด DIY การประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวัน

       นอกจากนี้มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยก และบันทึกปริมาณขยะ  เป็นประจำทุกวัน โดยแม่บ้าน สำนักหอสมุด ก่อนที่จะรวบรวมและส่งไปกำจัดยังสถานที่รวบรวมของมหาวิทยาลัย  

2. มีแผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

      สำนักหอสมุด มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการจัดการน้ำเสีย ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว  โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันตามจุดที่มีการใช้งานห้องเตรียมอาหาร ทั้งหมด 1 จุด ได้แก่ บริเวณห้องเตรียมอาหารชั้น 8 ดำเนินการตักไขมัน ชั่งตวงไขมันและมีการจดบันทึกข้อมูลปริมาณไขมันในถังดักไขมัน และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการรักษาคุณภาพน้ำก่อนทื้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ 
     สำนักหอสมุดยังได้ทำการสำรวจและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำ ที่ชำรุด ให้เป็นอุปกรณ์ที่ประหยัดน้ำทดแทน  และในปี 2565 มีการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำภายในอาคาร โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชนแห่งเอเชีย (adiCET)  (
    นอกจากนี้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตาม TOR การจ้างเหมาทำความสะอาด ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด

     สำนักหอสมุด มีแผนการดำเนินงานและการจัดการมลพิษทางอากาศ จากแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบในการดูแล โดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน มีแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2564   มีการจัดพื้นที่ชั้นหนังสือและพื้นที่นั่งอ่านให้มีอากาศหมุนเวียนและถ่ายเทโดยสะดวก  กำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และโต๊ะนั่งอ่านทุกวัน  มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศทุกชั้นและเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอรวมไปถึงการติดแผ่นกรองอากาศที่เครื่องปรับอากาศ  ตลอดจนการบำรุงรักษาและล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุกปี 
   ทั้งนี้ยังมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ มีการจัดการพื้นที่ควบคุมเสียงในห้องสมุด อีกทั้งการจัดเก็บค่าฝุ่นละอองภายในห้องสมุดโดยร่วมกับหน่วยงาน AdiCET และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ม.ราชภัฏเชียงใหม่  อีกทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลการคำนวณขยะประเภทกระดาษและแนวทางการประเมิน Carbon footprint อีกด้วย 

4. มีการดำเนินการกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

     สำนักหอสมุดมีแผนการดำเนินงาน 5ส อย่างสม่ำเสมอ โดยมีความร่วมมือของบุคลากรดูแลและรับผิดชอบพื้นที่ของตนเองให้สะดวกต่อการใช้งานและด้านความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง มีการจัดพื้นที่นั่งอ่านให้แก่ผู้ใช้บริการให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ตามแผนงานดำเนินการ 
        สำนักหอสมุดยังมีแผนจัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยบุคลากรทั้งสำนักรวมถึงแม่บ้าน ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่ทั้งบริเวณภายใน และภายนอกอาคารสำนักหอสมุด เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากร อีกทั้งยังมีกิจกรรมการคัดแยกขยะและการทำความสะอาดขัดพื้นในแต่ละปีอีกด้วย 

5. มีแผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และ วาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

      สำนักหอสมุด มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน ได้จัดทำแผนอพยพหนีไฟและกำหนดบุคคลและหน้าที่เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้  และมีแผนบริหารความเสี่ยงสำนักหอสมุด 
     มีการสำรวจอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยให้มีความพร้อมต่อการระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย  และให้บุคลากรเดินสำรวจความปลอดภัยภายในชั้น บริเวณมุมอับ และจุดต่าง ๆ บ่อยครั้ง 
     สำนักหอสมุดได้มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงแก่บุคลากร และผูัใช้บริการ  มีการอบรมการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินจากแผ่นดินไหวและการป้องกันอัคคีภัย