หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน
1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)

             สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีการคำนวนประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า (Engergy Utilization Index)  ปี พ.ศ. 2561 2562 2563 และ 2564

2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse,Recycle เพิ่มขึ้น

     สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีแผนการดำเนินงานและแนวทางการจัดการขยะ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว  และได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลในแต่ละส่วน กำหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ ทั้งในด้านแผนงานการจัดการขยะ  การดำเนินงานตามแนวทางการจัดการขยะและของเสีย  เส้นทางขยะของสำนักหอสมุด  โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse)        การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท 

     ทั้งนี้ได้มีจัดวางถังขยะแยกประเภท และติดป้ายแสดงประเภทของขยะแต่ละชนิด โดยแบ่งประเภทขยะออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1) ขยะทั่วไป 2) ขยะรีไซเคิล 3) ขยะเปียก และ 4) ขยะอันตราย รวมทั้งได้รณรงค์ให้ทุกฝ่าย ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร แก้วน้ำส่วนตัวแทนการใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟม รวมทั้งให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงในถังขยะ   

     1. ขยะทั่วไป แม่บ้านจะจัดเก็บแล้วนำมาชั่งและบันทึกปริมาณทุกวันในเวลา 16:30 น. และนำไปยังจุดรวบรวมขยะหลังมหาวิทยาลัยทุกวัน โดยนำไปรวบรวมไว้เพื่อเทศบาลนครเชียงใหม่จะนำไปฝังกลบ  

       เศษใบไม้ เนื่องจากโดยรอบสำนักหอสมุด มีต้นไม้และสวนหย่อมด้านหน้าสำนักหอสมุดจึงมีขยะจากใบไม้ ทุกวันจันทร์ เวลา 13:00 น. เป็นต้นไป พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักหอสมุดได้ดำเนินการเก็บกวาดใบไม้รอบอาคารใส่ถุงขยะนำไปพักไว้ตรงจุดรวบรวมขยะของมหาวิทยาลัยเพื่อรอรถขยะเทศบาลนครเชียงใหม่มารับไปจัดการ   

     2. ขยะรีไซเคิล เก็บมาจากถังขยะภายในสำนักงาน เช่น ขวดน้ำพลาสติก กล่องกระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม ขวดแก้ว พนักงานทำความสะอาดจะทำการชั่งก่อนนำไปจัดเก็บไว้ที่จุดพักขยะชั้น 8 สำนักหอสมุด เพื่อรอจำหน่ายให้แก่ผู้รับซื้อของเก่า  

         บุคลากรสำนักหอสมุดฯ รวบรวมระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว แยกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กระดาษใช้แล้วหนึ่งหน้าและกระดาษใช้แล้วทั้งสองหน้า เมื่อมีปริมาณมาก คณะกรรมการฯ หมวดที่ 4 จะนำมาทำการคัดแยก ส่วนที่สามารถนำมาใช้ได้ก็จะมัดรวมเป็นชุด ๆ ละ 100 แผ่น แล้วนำมาให้บุคลากรเบิกใช้ตามความต้องการ ส่วนกระดาษที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้แล้วก็จะถูกนำไปรวมกับกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วทั้งสองหน้า เพื่อรอจำหน่ายให้แก่ผู้รับซื้อของเก่า  

      3. ขยะเปียก   

          3.1 ขยะเปียก ประเภทเศษอาหาร สำนักหอสมุดฯ จะมอบหมายให้แม่บ้านทำความสะอาดจะทำการจัดเก็บแล้วนำมาชั่งและบันทึกปริมาณทุกวันในเวลา 16:30 น. ก่อนนำไปพักไว้ตรงจุดรวบรวมขยะของมหาวิทยาลัย เพื่อรอรถขยะเทศบาลนครเชียงใหม่มารับไปจัดการ  

          3.2 เศษอาหารจากถังดักไขมันเมื่อแม่บ้านทำความสะอาดถังดักไขมันให้นำเศษอาหารที่มีในถังดักไขมันชั่งและบันทึกปริมาณทุกวันในเวลา 16:30 น. ก่อนนำไปพักไว้ตรงจุดรวบรวมขยะของมหาวิทยาลัย เพื่อรอรถขยะเทศบาลนครเชียงใหม่มารับไปจัดการ  

         ทั้งนี้ ได้เชิญชวนให้บุคลากรลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  โดยได้จัดกิจกรรมประกวด DIY การประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้เป็นประจำทุกปี เพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวัน 

          นอกจากนี้มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยก  และบันทึกปริมาณขยะเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2565    โดยแม่บ้านประจำสำนักหอสมุด ก่อนที่จะรวบรวมและส่งไปกำจัดยังสถานที่รวบรวมของมหาวิทยาลัย ข้อมูลประสิทธิภาพการจัดการขยะ ปี 2559-2565

3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย

     สำนักหอสมุด มีการกำหนดแผนงานและมาตรการด้านการจัดการน้ำเสีย ตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี พ.ศ. 2564  โดยมีการติดตั้งถังดักไขมันตามจุดที่มีการใช้งานห้องเตรียมอาหาร ทั้งหมด 1 จุด ได้แก่ บริเวณห้องเตรียมอาหารชั้น 8 ดำเนินการตักไขมัน ชั่งตวงไขมันและมีการจดบันทึกข้อมูลปริมาณไขมันในถังดักไขมัน  และล้างถังดักไขมันทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เพื่อดูแลรักษาอุปกรณ์และเป็นการรักษาคุณภาพน้ำก่อนทิ้งลงบ่อบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยและปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  

4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น

     สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีแผนการดำเนินงานและการจัดการมลพิษทางอากาศตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด 

      โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแล โดยจัดทำรายละเอียดอย่างชัดเจน มีแผนการบำรุงดูแลรักษาประจำปี 2564   มีการจัดพื้นที่ชั้นหนังสือและพื้นที่นั่งอ่านให้มีอากาศหมุนเวียนและถ่ายเทโดยสะดวก กำหนดมาตรการและตรวจสอบการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสือ สัปดาห์ละ 1 ครั้งและโต๊ะนั่งอ่านทุกวัน  มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศทุกชั้นและเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอรวมไปถึงการติดแผ่นกรองอากาศที่เครื่องปรับอากาศให้บริการจำนวน   ตลอดจนการบำรุงรักษาและล้างเครื่องปรับอากาศ  เป็นประจำทุกปี  

    ทั้งนี้ยังมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่  มีการจัดการพื้นที่ควบคุมเสียงในห้องสมุด อีกทั้งการจัดเก็บค่าฝุ่นละอองภายในห้องสมุดโดยร่วมกับวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (AdiCET) และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  อีกทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลการคำนวณขยะประเภทกระดาษและแนวทางการประเมิน Carbon footprint อีกด้วย  

5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นองค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น

สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง น้ำ กระดาษ และ ของเสีย เป็นประจำและต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 - 2564 โดยใช้โปรแกรมการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่พัฒนาโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก พบว่า
     ปี พ.ศ. 2561 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 115.27 tCO2e 
    ปี พ.ศ. 2562 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 122.72 tCO2e เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 ร้อยละ 6.46 
    ปี พ.ศ. 2563 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 88.28 tCO2e ลดลงจากปี พ.ศ. 2562 ร้อยละ 28.06
    ปี พ.ศ. 2564 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 71.79 tCO2e ลดลงจากปี พ.ศ. 2563 ร้อยละ 18.68 

6. มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการทดสอบความรู้ เป็นต้น

สำนักหอสมุดได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดในระยะเริ่มต้นตามแผนห้องสมุดสีเขียวมีแต่การวัดผลสัมฤทธิ์โดยการประเมินความพึงพอใจเพียงอย่างเดียว แต่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาสำนักหอสมุดประเมินผลสัมฤทธิ์ของการอบรมโดยการให้ผู้เข้าร่วมอบรมทำแบบทดสอบก่อนอบรม (Pre-test) แบบทดสอบหลังอบรม (Post-test) โดยผู้เข้าร่วมอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ต้องมีคะแนนผลทดสอบหลังอบรมมากกว่าผลทดสอบก่อนอบรม ดังนี้

พ.ศ. 2563

10 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00-12.00 น.
สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมการอบรมผู้ใช้บริการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศด้านการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการอบรม "การสืบค้นสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศเพื่อการวิจัย" ให้แก่นักศึกษา สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน ณ ห้องปฏิบัติการแผนที่ทางภูมิศาสตร์ (434) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60) และมีผลสัมฤทธิ์การอบรม คิดเป็นร้อยละ 100 (8.6.1a)

 

พ.ศ. 2564 
2 กรกฏาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น 
กิจกรรมการอบรมผู้ใช้บริการเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศด้านการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปี 2564 “การสืบค้นสารสนเทศทางด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศเพื่อการวิจัย” โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมอบรมจำนวน 9 คน และอาจารย์ 2 คน มีการประเมินความพึงพอใจของการเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54) และมีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการอบรมโดยการให้ผู้เข้าอบรมทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโดยผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนมีคะแนน Post-test มากกว่า Pre-test ผลสัมฤทธิ์ของการอบรมคิดเป็นร้อยละ 100 (8.6.1b)
 

4 สิงหาคม 2564 เวลา 9.00 - 16.00 น. 
สำนักหอสมุดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "มาตรการแนวทางการลดการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2564" โดยคุณเพชรประกายแก้ว  ดวงหฤทัยทิพย์ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักหอสมุด หัวหน้างานบริการและธุรการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีบุคลากรของสำนักหอสมุดเข้าร่วมจำนวน 24 คน ผู้บริหารสำนักหอสมุด 4 คน และนักศึกษา 15 คน มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมดังกล่าวโดยการวัดความพึงพอใจของการเข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยที่ 4.70) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้านได้แก่ด้านวิทยากร (ค่าเฉลี่ย 4.75) ด้านความรู้ที่ได้รับ (ค่าเฉลี่ย 4.74) และ วิธีการจัดการอบรม (ค่าเฉลี่ย 4.61)  (8.6.2)
 

29 ธันวาคม 2564
สำนักหอสมุดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตฝุ่นควัน ภายใต้โครงการ พัฒนาบุคลากร สำนักหอสมุด" โดย อ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท และนายโชคชัย คงอุดมทรัพย์ จากวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย (adiCET) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยวิทยากรได้ทำการติดตั้งระบบติดตามฝุ่นควันแบบเรียลไทม์ adiDUST by adiCET เพื่อวัดปริมาณฝุ่นในแต่ละชั้นของห้องสมุด เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ห้องสมุดให้เป็น Safe Zone ที่มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น รวมทั้งได้สอนการทำเครื่องฟอกอากาศแบบ DIY ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ เพื่อใช้งานในสำนักหอสมุดต่อไป โดยมีบุคลากรสำนักหอสมุดเข้าร่วมอบรมจำนวน 27 คน และนักศึกษา 2 คน (เนื่องจากสำนักหอสมุดงดให้บริการเนื่องจากอยู่ระหว่างการระบาดของโรค Covid-19) มีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการอบรมโดยการให้ผู้เข้าอบรมทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรมโดยผู้เข้าอบรมร้อยละ 86.21 (25 คน) มีคะแนนการทดสอบหลังการอบรมมากกว่าการทดสอบก่อนการอบรม สำหรับคะแนนความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมพบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเฉพาะด้านวิทยากรและความรู้ที่ได้ในการอบรมซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (ค่าเฉลี่ย 4.94) เนื่องจากกิจกรรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฝุ่นควันมากขึ้น และสามารถนำเทคนิคการทำ เครื่องฟอกอากาศแบบ DIY มาใช้ในการทำเครื่องฝอกอากาศราคาประหยัดสำหรับใช้ในสำนักหอสมุดและใช้ที่บ้านได้ (8.6.3_1; 8.6.3_2)

พ.ศ. 2565

20 พฤษภาคม 2565 บุคลากรสำนักหอสมุดจำนวน 13 คนเข้าร่วมการอบรมเรื่อง "การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในองค์กร" ผ่านโปรแกรม Zoom ซึ่งจัดโดยสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมในหัวข้อดังกล่าว บุคลากรสำนักหอสมุดได้ร่วมทำแบบประเมินผลการอบรม โดยบุคลากรจำนวน 6 คน (ร้อยละ 46) ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งถือว่าผ่านการประเมินผลการอบรม (8.6.4)

ทั้งนี้สำนักหอสมุดได้มีแผนงานการสอนการรู้สารสนเทศ และการส่งเสริมการใช้สารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยทุกครั้งที่มีการอบรมการใช้ห้องสมุดและการสืบค้นโปรแกรมต่างๆ บรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าจะยกตัวอย่างคำสืบค้นที่เกี่ยวกับ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมหรือที่ใกล้เคียงโดยพิจารณาเลือกคำค้นที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมเป็นหลัก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความตระหนักถึงทรัพยากรสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมที่สำนักหอสมุดมีให้บริการ โดยในการจัดกิจกรรมสอนการรู้สารสนเทศงานบริการสารสนเทศได้มีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการอบรมทุกครั้ง โดยกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครั้งถัดไปคือกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ "โอโซนไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นโล่ปกป้องเรา" ซึ่งจะจัดในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 12:30-16:30 น. โดยเป็นการอบรมในรูปแบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom