Research Support Service

       บริการสนับสนุนการวิจัย เป็นบริการที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนการวิจัยของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ให้บริการ ช่วยค้นหาสารสนเทศ แนะนำการสืบค้นสารสนเทศและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำวิจัย ตลอดจนการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถทำงานวิจัยที่มีคุณภาพได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

       ● บริการช่วยสืบค้นและรวบรวมสารสนเทศเพื่อการวิจัย 
       ● บริการจัดส่งเอกสารฉบับเต็มผ่านทาง e-Mail (Fulltext service)
       ● บริการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
       ● บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 
       ● บริการเครื่องมือช่วยค้นคว้าวิจัย
       ● บริการตรวจสอบการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม

การอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ


เครื่องมือช่วยค้นคว้าวิจัย

โปรแกรมจัดการบรรณานุกรมสำเร็จรูป Zotero 
ดาวน์โหลดโปรแกรม คลิก

อักขราวิสุทธิ์
เข้าใช้งาน คลิก

บริการ SSL-VPN การใช้งานฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากเครือข่ายภายนอก
เข้าใช้งานผ่านทาง Web Browser สามารถเข้าใช้งานได้ที่ sslvpn.cmru.ac.th หรือเข้าใช้งานผ่านโปรแกรม NetExtender Clients ดาวน์โหลดโปรแกรม คลิก

แหล่งสารสนเทศ (Subject Guide) ตามหัวเรื่องต่าง ๆ
เข้าใช้งาน คลิก

ฐานข้อมูลงานวิจัย

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Reference Database) 
             *ต้องใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย โดยสามารถใช้บริการ SSL-VPN เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูล
             • ACM Digital Library ฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการ
             • American Chemical Society Journal (ACS) ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมสาขาวิชาเคมีและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
             • Academic Search Ultimate ฐานข้อมูลสหสาขาวิชา รวบรวมวารสารวิชาการ นิตยสาร สิ่งพิมพ์ และวีดีโอ ในทุกสาขาวิชาการศึกษา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ ดาราศาสตร์ มานุษย์วิทยา ชีวเวชศาสตร์ สุขภาพ กฎหมาย คณิตศาสตร์ เภสัชวิทยา ศึกษาศาสตร์ สตรีศาสตร์ สัตวศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ อีกมากมาย 
             • EBSCO Discovery Service (EDS) Plus Full Text ระบบการสืบค้นงานวิจัยออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงทุกฐานข้อมูล 
             • Engineering Source ฐานข้อมูด้านวิศวกรรม ครอบคลุมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรม เช่น วิศวกรรมการบิน ไฟฟ้า โยธา เครื่องกล สิ่งแวดล้อม ซอฟต์แวร์ เป็นต้น
             • Emerald Management ฐานข้อมูครอบคลุมสาขาวิชาทางด้านการจัดการ การบริหารธุรกิจ
             • Gale: Power Search เครื่องมือการค้นแบบ Cross search สามารถเข้าใช้งานได้ไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ ครอบคลุมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์จากสำนักพิมพ์ Gale ที่ห้องสมุดบอกรับ
             • SpringerLink ฐานข้อมูลที่ให้บริการเนื้อหาในสาขาวิชาหลัก ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ครอบคลุมสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารและหนังสือ
             • ScienceDirect ฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์
             • Directory of Open Access Journals (DOAJ) ฐานข้อมูลที่รวบรวมรายชื่อวารสารวิชาการที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ สามารถสืบค้นเอกสารฉบับเต็มได้และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายสาขาวิชา
             • SAGE Open Access ฐานข้อมูลวารสารแบบเปิดของสำนักพิมพ์ SAGE ให้เนื้อหาที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น
             • Taylor & Francis (Open Journals) ฐานข้อมูลที่รวบรวมวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงเอกสารได้แบบเปิด
             • DART-Europe E-theses Portal ให้บริการวิทยานิพนธ์/งานวิจัยมากกว่า 990,000 รายการจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 550 แห่งในประเทศแถบทวีปยุโรปมากกว่า 28 ประเทศ
             • EBSCO OpenDissertations เป็นฐานข้อมูลที่มีจัดเก็บวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยมากกว่า 320 แห่งทั่วโลก ครอบคลุมสหสาขาวิชา
             • EThOS: e-Theses Online Service ฐานข้อมูลที่รวมปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกครอบคลุมสหสาขาวิชามากกว่า 1.4 ล้านรายการ จากมหาวิทยาลัยมากกว่า 320 แห่งทั่วโลก
             • Networked Digital Library of Theses and Dissertations (NDLTD) ฐานข้อมูลที่เผยแพร่วิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากทั่วโลก จำนวนกว่า 200 แห่ง
             • Open Access Theses and Dissertations (OATD) ฐานข้อมูลสำหรับการค้นหาวิทยานิพนธ์จากวิทยาลัยมหาวิทยาลัยและสถาบันการวิจัยที่เผยแพร่ทั่วโลกกว่า 1,100 แห่ง
             • OhioLink Electronic Theses & Dissertations Center (ETD Center) ฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับโทและปริญญาเอกมากกว่า 58,000 รายการ จากสถาบันทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากกว่า 30 แห่งของรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา
             • ProQuest Open Access Dissertations & Theses ฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จากสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปต่างๆทั่วโลก มากกว่า 1,700 แห่ง ครอบคลุมสหสาขาวิชา
             • Thai Digital Collection (TDC) ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ให้บริการเอกสารฉบับเต็ม (Full text) วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
             • ChiangMai Rajabhat University Intellectual Repository (CMRUIR) คลังปัญญาสถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวบรวมงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย

ความหมายของรายงานวิชาการ
             รายงานทางวิชาการ คือ เอกสารที่เป็นผลจากการรวบรวม ศึกษาค้นคว้า สำรวจ หรือวิเคราะห์เรื่องทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนด รายงานทางวิชาการส่วนใหญ่มักเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยอาจอยู่ในรูปแบบรายงานการค้นคว้า รายงานการวิจัย ภาคนิพนธ์ รายงานประจำภาค การค้นคว้าอิสระ และวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์

ส่วนประกอบของรายงานวิชาการ
             รายงานทางวิชาการ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนอ้างอิง มีรายละเอียดดังนี้
                  ก. ส่วนนำ หมายถึง ส่วนที่อยู่ก่อนถึงเนื้อเรื่อง ได้แก่ ปกนอก ในรองปกใน ปกใน คำนำ และสารบัญ
                      1) ปกนอก เป็นส่วนที่เป็นปกของรายงาน มีทั้งปกด้านหน้าและปกด้านหลัง ข้อความที่ปรากฏอยู่ที่ปกหน้า ได้แก่ ชื่อรายงาน ชื่อผู้ทำรายงาน หรือคณะผู้ทำรายงาน บางสถาบันอาจกำหนดให้มีข้อความเหมือนกับปกใน ส่วนปกหลังมักปล่อยเว้นว่างไว้
                      2) ใบรองปกใน เป็นกระดาษเปล่าแผ่นหนึ่งต่อจากปกนอก (ทั้งปกหน้าและหลัง)
                      3) ปกใน เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดของรายงาน ข้อความที่ปรากฏอยู่บนปกใน ได้แก่ ชื่อรายงาน ชื่อผู้ทำรายงาน หรือคณะผู้ทำรายงานเช่นเดียวกับปกนอก และเพิ่มข้อความที่ระบุชื่อรายวิชา คณะ สถาบันการศึกษา ภาคการศึกษา และปีการศึกษา ที่กึ่งกลางด้านล่างของหน้ากระดาษ
                      4) คำนำ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากปกใน โดยเป็นส่วนที่ผู้เขียนรายงานกล่าวถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถอ่านรายงานได้เข้าใจยิ่งขึ้น
                      5) สารบัญ มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน เป็นการเรียงลำดับหัวข้อของรายงานไว้ทางด้านซ้ายของกระดาษจากหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง ไปจนถึงหัวข้อย่อย พร้อมทั้งบอกเลขหน้าเริ่มต้นของแต่ละรายการไว้ทางด้านขวาของรายการแต่ละบรรทัด
                  ข. ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงาน เนื่องจากเป็นส่วนที่เสนอผลการศึกษาค้นคว้าหรือวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน และโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย 5 บท ดังนี้
                      1) บทที่ 1 บทนำ มีความแตกต่างจากคำนำ เนื่องจากผู้เขียนจะต้องชี้แจงเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการทำรายงานเรื่องนั้น พร้อมชี้แจงขอบเขตของเรื่อง  รวมทั้งวิธีการศึกษาค้นคว้า และอธิบายเนื้อหาสาระของรายงานโดยสังเขปให้ผู้อ่านทำความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อหาของรายงานต่อไป ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
                          - ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                          - วัตถุประสงค์ของการศึกษา
                          - ขอบเขตของการศึกษา
                          - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                      2) บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบในการวิจัยต้องเรียบเรียงสรุปกรอบความคิด หลักการเขียนต้องเป็นการเรียบเรียงเนื้อหากับการเขียนบทความทางวิชาการ ไม่ควรลอกเนื้อหามาต่อกันเป็นท่อน ๆ หัวข้อสำคัญประกอบด้วย
                          - แนวความคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการศึกษา
                          - ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
                      3) บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการนำเสนอถึงวิธีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หัวข้อที่ควรนำเสนอ ประกอบด้วย
                          - การสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัย
                          - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                          - การดำเนินการทดลอง
                          - การเก็บรวบรวมข้อมูล
                      4) บทที่ 4 ผลการวิจัย เป็นการนำเสนอผลการศึกษา ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ หลักการนำเสนอต้องเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ หากมีตารางหรือแผนภูมิ ให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร
                      5) บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอข้อสรุปจากทุกบทที่ผ่านมาและข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา โดยทั่วไปจะเริ่มจากวัตถุประสงค์การวิจัย สรุปถึงวิธีการวิจัยโดยย่อ สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอ - การเขียนสรุปผลการวิจัย ควรเขียนในลักษณะการตีความจากข้อมูลให้กระชับ และเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
                          - การเขียนอภิปรายผลการวิจัย ควรแยกอภิปรายเป็นประเด็น โดยชี้ประเด็นว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่คนอื่นทำไว้โดยยกเหตุผลมาประกอบการอภิปราย
                          - การเขียนข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอประเด็นที่ควรนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีข้อควรระวังในการนำไปใช้อะไรบ้าง และข้อเสนอแนะว่าควรทำวิจัยอะไรอย่างไร
                  ค. ส่วนอ้างอิง เป็นส่วนที่แสดงหลักฐานหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน เป็นส่วนที่ทำให้รายงานน่าเชื่อถือและเป็นการแสดงมารยาททางวิชาการของผู้เขียนรายงาน โดยการอ้างอิงมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การอ้างอิงในเนื้อหาของรายงาน (Citation) และการอ้างอิงในตอนท้ายเล่มของรายงาน (Reference)

บริการแนะนำการเขียนอ้างอิง

             การอ้างอิง เป็นการบอกให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในการเขียนงานของตนเอง ทำให้รายงานมีความน่าเชื่อถือ ให้เกียรติผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลผู้อื่น ซึ่งถือเป็นมารยาทและจริยธรรมทางวิชาการ

             การเขียนบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้เขียนใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เช่น หนังสือ บทความวารสาร สื่อโสตทัศน์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยจะปรากฎอยู่ท้ายเล่มของเอกสาร เพื่อเป็นการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้ผู้อ่านได้รับทราบ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่ง มักใช้การเขียนบรรณานุกรมในรูปแบบ APA (American Psychological Association) เวอร์ชัน 7 (APA 7th) ที่มีการกำหนดมาตราฐานใหม่ โดยมีการเพิ่มเติมการอ้างอิงสารสนเทศให้เข้ายุคปัจจุบัน เช่น การเขียนบรรณานุกรมจากสื่อสังคมออนไลน์ บทความนี้จะแนะนำการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) 
              เป็นการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหา โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้า ที่มีข้อความที่อ้างถึง มี 2 รูปแบบ คือ
              1. แบบเชิงอรรถ (Footnote) นิยมเขียนไว้ท้ายหน้ากระดาษแต่ละหน้า
              2. แบบแทรกในเนื้อหา (ระบบนาม, ปี) วางชื่อ, ปี ไว้ก่อน หรือ ท้าย ข้อความ
                  2.1 วาง (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง เช่น 
                การผังเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเมืองผ่านการพัฒนาสาธารณูปโภคของเมือง การจ้างงาน การบริโภคที่ดี ความเป็นอยู่ของคนที่ดี การบริหารที่เน้นความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า การกระจายอ านาจทางการเมือง และความสวยงาม (นิพันธ์วิเชียรน้อย, 2552, น. 30)
               2.2 วาง ผู้แต่ง (ปีพิมพ์, เลขหน้า) ก่อนข้อความที่จะอ้างอิง เช่น 
                บุรีรัตน์ สามัตถิยะ (2541, น. 7) ให้ความหมายของ เรือนแก้ว ว่า หมายถึง ดินแดนที่พระบวรพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด จนถึงกับได้ทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 
              รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (ระบบนาม, ปี) 
              ผู้แต่ง 1 คน 
            
              ตัวอย่าง 
              ขวัญชนก นัยจรัญ (2562)  หรือ   (ขวัญชนก นัยจรัญ, 2562)
              Gibbon (2023)                    หรือ   (Gibbon, 2023)

              ผู้แต่ง 2 คน 
            
              ตัวอย่าง 
              ขวัญชนก นัยจรัญ และกฤษณา ชาญณรงค์ (2562)  หรือ  (ขวัญชนก นัยจรัญ และกฤษณา ชาญณรงค์, 2562)
              Gibbon & Emmerson (2023)                                     หรือ  (Gibbon & Emmerson 2023)

              ผู้แต่ง 3 คน ขึ้นไป
            
              ตัวอย่าง 
              ขวัญชนก นัยจรัญ และคนอื่น ๆ (2562)     หรือ  (ขวัญชนก นัยจรัญ และคนอื่น ๆ, 2562)
              Gibbon et al. (2023)                                 หรือ  (Gibbon et al., 2023)
              กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์  ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)

              กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นรูปภาพ ให้ระบุแหล่งที่มาไว้ในส่วนท้ายของหมายเหตุใต้ภาพ มีรูปแบบการเขียนดังนี้
              
              ตัวอย่าง 
              
              
              กรณีเอกสารอ้างอิงเป็นตาราง ให้ระบุแหล่งที่มาไว้ในส่วนท้ายของหมายเหตุใต้ตาราง มีรูปแบบการเขียนดังนี้
              
              ตัวอย่าง
              

              การระบุข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และการอนุญาตรูปภาพ/ตาราง
              

การเขียนบรรณานุกรม (References / Bibliography)
              บรรณานุกรมคือ รายการทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่มีการอ้างอิงในเนื้องานของผู้เขียน มีวิธีการเขียนดังนี้
              • เรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ  /  A-Z
              • พยัญชนะไทย เมื่อเรียงลำดับอักษรแล้ว เรียงลำดับสระ
              • ถ้ามีบรรณานุกรมทั้งไทย-อังกฤษ เรียงภาษาไทยก่อน
              • ชื่อผู้แต่ง ไม่มีคำนำหน้าชื่อ ยกเว้นพระ
              • ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน ใส่ชื่อหน่วยงานที่ปรากฏ
              • ไม่มีชื่อผู้แต่ง ขยับเอาชื่อเรื่องขึ้นมาไว้แทนชื่อผู้แต่ง

การลงรายการชื่อผู้แต่ง
             มีหลักการลงรายการดังนี้

หลักเกณฑ์การลงรายการชื่อผู้แต่ง

รูปแบบ

ตัวอย่าง

ผู้แต่ง 1 คน

ชื่อ นามสกุล. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

ยศกร วรรณวิจิตร. (2565). การบริหารองค์การ. พิมพ์ทันใจ.

Author, A. A. (Year). Title (Edition ed.). Publisher.

Anderson, J. (2021). Understanding cultural geography: places and traces (3rd ed.). Routledge.

ผู้แต่ง 2 คน

ชื่อ นามสกุล1 และชื่อ นามสกุล2. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์ และสมยศ ศุภกิจไพบูลย์. (2564). รวยด้วยธุรกิจกัญชง. ปัญญาชน.

Author, A. A.1 & Author, A. A.2 (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

Glisic, S. G., & Lorenzo, B. (2022). Artificial intelligence and quantum computing
for advanced wireless networks
. John Wiley & Sons.

ผู้แต่ง 3 - 20 คน

ให้ใส่ชื่อทุกคน

ชื่อ นามสกุล1, ชื่อ นามสกุล2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, และชื่อ นามสกุล20.
(ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, เลิศพร อุดมพงษ์ และนิตยา โพธิ์นอก. (2564). บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

Author, A. A.1, Author, A. A.2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, & Author, A. A.20. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

Clauhs, M., Powell, B. & Clements, A. C. (2021). Popular music pedagogies: a practical guide for music teachers. Routledge

ผู้แต่ง 21 คนขึ้นไป

ให้ใส่ชื่อและนามสกุล

ของผู้แต่งคนที่ 1 - 19

ตามด้วยเครื่องหมาย , ... ชื่อคนสุดท้าย

ชื่อ นามสกุล1, ชื่อ นามสกุล2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, …ชื่อ นามสกุลN. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สำนักพิมพ์.

 

ขนิษฐา นันทบุตร, พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, จงกลณี จันทรศิริ, นิลภา จิระรัตนวรรณะ, สุคนธ์ วรรธนะอมร, แสงเดือน แท่งทองคำ, กชพร สิงหะหล้า, กติกา นวพันธุ์, กนกพร จิรัฐติกาลวงศ์, กนกพร จิวประสาท, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, กนกพร อัศวเมธิกาพงศ์, กมลวรรณ จุติวรกุล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, กรรณิกา ชาธรรม, กรรณิการ์ มุรทาธร, กรองทอง วงศ์ศรีตรัง, กรีวุธ อัศวคุปตานนท์, กฤติน กุลเพ็ง, ...พัฒนา นาคทอง. (2563). ชุดความรู้การพัฒนากลไกและการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน. เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.

Author, A. A.1, Author, A. A.2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19, & Author, A. A.N. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

Gilbert, J. R., Smith, J. D., Johnson, R. S., Anderson, A., Plath, S., Martin, G., Sorenson, K., Jones, R., Adams, T., Rothbaum, Z., Esty, K., Gibbs, M., Taultson, B., Christner, G., Paulson, L., Tolo, K., Jacobson, W. L., Robinson, R. A., Maurer, O., White, N. (2014). Choosing a title (2nd ed.). Unnamed Publishing.


รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม
             1.  หนังสือ
                 1.1  หนังสือทั่วไป
                      ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). สํานักพิมพ์.
                      Author, A. A. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.
                      วิทวัฒน์ พัฒนา. (2553). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
                      Wentzel, K. R. (2021). Motivating students to learn (5th ed.)McGraw-Hill.
                 1.2  หนังสือแปล
                      นามสกุล, อักษรย่อชื่อ. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือภาษาต้นฉบับ  [ชื่อหนังสือภาษาไทย] (พิมพ์ครั้งที่). สํานักพิมพ์.
                      ฮอว์คิง, เอส. (2552). The illustrated: A brief history of time [ประวัติย่อของกาลเวลา ฉบับภาพประกอบ] (พิมพ์ครั้งที่ 17). มติชน
                         นามสกุล, อักษรย่อชื่อ. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือภาษาต้นฉบับ  [ชื่อหนังสือภาษาอังกฤษ] (พิมพ์ครั้งที่). สํานักพิมพ์.
                      Piaget, J. (1950). La construction du réel chez l’enfant [The child’s construction of reality]. Neuchâtel, Delachaux, & Niestlé.
                 1.3  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ไม่มีเลข DOI
                      ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). URL
                      Author, A. A. (Year). Title of the book (Edition ed.). URL
                      ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). การจัดการและการตลาดบริการ ฉบับปรับปรุง https://elibrary-cmrucu.cu-elibrary.com/rent/detail/
                                 5e358fa6-3b93-42bb-9649-7a2de301abf3
                      Duranti, L. & Rogers, C. (2019). Trusting Records in the Cloud : The Creation, Management, and Preservation of Trustworthy Digital Content.
                                 Facet Publishing.
                 1.4  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) มีเลข DOI
                      ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่). https://doi.org/เลขDOI
                      Author, A. A. (Year). Title of the book (Edition ed.). https://doi.org/เลขDOI
                      Aalst, W. (2020). The Data Science Revolution. https://doi.org/10.1007/978-3-030-64246-4_2
                 1.5  บทในหนังสือ (Book chapter)
                      ชื่อผู้แต่งในบท. (ปีพิมพ์). ชื่อบท. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่, น. xx-xx). URL
                      Author, A. A. (Year). Title of the chapter. In Editor (eds.), Title of the book (Edition ed., pp. xx-xx). URL
                      อรรถพล ประภาสโนบล. (2561). ห้องเรียนนักลบอคติความเกลียดชัง. ใน ภี อาภรณ์เอี่ยม และพัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ (บ.ก.), ครูผู้สร้างพลเมือง: 
                              พลังของการเปลี่ยนแปลง (น. 39-49). http://thaiciviceducation.org/wp-content/uploads/2019/09/Final_เล่มประสบการณ์สอนพร้อมปก.pdf
                      Guidarini, C. & Hussaein, O. (2023). A Systematic Review of How Remote Work Affects Workplace Stress and Mental Health. In: Duffy, V.G., Ziefle, M., 
                              Rau, PL. P. & Tseng, M. M. (eds.), Human-Automation Interaction (pp. 79-96). https://doi.org/10.1007/978-3-031-10788-7_5
             กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์  ให้ใส่ (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.)
             กรณีพิมพ์ครั้งที่ 1  ไม่ต้องระบุครั้งที่พิมพ์
             กรณีพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ให้ลง (พิมพ์ครั้งที่ 2) หรือ (2 nd ed.) / (พิมพ์ครั้งที่ 3) หรือ (3rd ed.) / (พิมพ์ครั้งที่ 4) หรือ (4th ed.) 

             2.  บทความในวารสาร
                 2.1  บทความในวารสาร แบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่มีเลข DOI
                      ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เลขปีที่(เลขฉบับที่), เลขหน้า.
                      Author, A. A. (Year). Title of the article. Journal name, Volume(Issue number), Page.
                      สุพรรณี ขาวงาม. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน. วารสารการเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 12(1), 19-37.
                      Collins, M. (2022). The teaching of computer ethics on computer science. International Journal of Ethics Education, 7(1), 101-129.
                 2.2  บทความในวารสาร แบบรูปเล่ม/อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีเลข DOI
                      ชื่อ นามสกุลผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสารเลขปีที่(เลขฉบับที่), เลขหน้า. https://doi.org/เลขDOI
                      Author, A. A. (Year). Title of the article. Journal nameVolume(Issue number), Page. https://doi.org/เลขDOI
                      รุจิรา เหลืองศักดาพิชญ์. (2563). ความสามารถในนวัตกรรมด้านการให้บริการและผลการดำเนินงานในการให้บริการหลักฐานจากธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. 
                              จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 43-67. https://doi.org/10.14456/cbsr.2019.24
                      Northrup, A. K., Burrows Borowczak, A. C., & Slater, T. F. (2022). K-12 Teachers’ Perceptions and Experiences in Starting to Teach Computer Science. 
                              Education Sciences, 12(11), 742. https://doi.org/10.3390/educsci12110742     

             3.  วิทยานิพนธ์
                 3.1  วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ที่ไม่ได้ตีพิมพ์
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อวิทยานิพนธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. ชื่อมหาวิทยาลัย.
                      Author, A. A. (Year). Title [Unpublished doctoral or master’s thesis]. Name of the Institution awarding the degree.
                      ศศิธร ศรีรัตน์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแปลภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
                              ด้วยวิธีสอนแบบปกติและการสอนแบบ STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
                      Stewart, Y. (2000). Dressing the tarot [Unpublished master’s thesis]. Auckland University of Technology.
                 3.2  วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จากเว็บไซต์ (ไม่อยู่ในฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์)
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อวิทยานิพนธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ชื่อมหาวิทยาลัย]. ชื่อเว็บไซต์. URL
                      Author, A. A. (Year). Title [Doctoral dissertation or Master’s thesis, Name of the Institution]. Website name. URL
                      นิเทศ ประเดชบุญ. (2563). การออกแบบเครื่องมือวัดค่าทางไฟฟ้าแบบแสดงผลด้วยเสียงพูดเพื่อเป็นอุปกรณ์การสอนเกี่ยวกับการวัดค่าทางไฟฟ้า 
                              [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่]. CMRUIR. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2288
                      Zahid, S. (2021). Impact of Digital Payment Systems on Societal Wellbeing [Master’s thesis, Auckland University of Technology]. 
                              Auckland University of Technology Library. https://openrepository.aut.ac.nz/handle/10292/14592
                 3.3  วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จากเว็บไซต์ (ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์)
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อวิทยานิพนธ์ (หมายเลข UMI หรือ เลขลำดับอื่น ๆ) [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
                              ชื่อมหาวิทยาลัย]. ชื่อฐานข้อมูล
                      Author, A. A. (Year). Title (UMI  No.) [Doctoral dissertation or Master’s thesis, Name of the Institution]. Database name.
                      McNiel, D. S. (2006). Meaning through narrative: A personal narrative discussing growing up with an alcoholic mother (UMI No. 1434728)
                              [Master’s thesis, California State University–Long Beach]. ProQuest Dissertations and Theses database.

             4. รายงานการประชุมวิชาการที่มี Proceeding 
                 4.1  รายงานการประชุมวิชาการที่มี Proceeding รูปเล่มหนังสือ
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.), ชื่อหัวข้อการประชุม. ชื่อการประชุม (น. เลขหน้า). ฐานข้อมูล.
                      Contributor, A. & Contributor, B. (Year). Title. In ชื่อบรรณาธิการอักษรชื่อย่อ. สกุล (Ed. หรือ Eds.), ชื่อหัวข้อการประชุมชื่อการประชุม  (pp. เลขหน้า). database.
                      กรณีมีเลข DOI หรือ URL ให้เติมต่อท้ายจากฐานข้อมูล ตัวอย่าง ชื่อฐานข้อมูล. https://doi.org/xxxx
                      พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับประเทศไทย.
                              ใน ศิริชัย กาญจนวาสี (บ.ก.), การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ (น. 97–102).
                              คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
                      Katz, I., Gabayan, K., & Aghajan, H. (2007). A multi-touch surface using multiple cameras. In J. Blanc-Talon, W. Philips, D. Popescu,
                              & P. Scheunders (Eds.), Lecture notes in computer science. Advanced concepts for intelligent vision systems (pp. 97–108).
                              Springer-Verlag. https://doi.org/10.1007/978-3-540-74607-2_9
                 4.2  รายงานการประชุมวิชาการที่มี Proceeding รูปแบบวารสาร
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง: ชื่อเรื่องย่อย. ชื่อวารสาร, เลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า. URL
                      Contributor, A. & Contributor, B. (Year). Title: Sub-title. Journal nameเลขของปีที่(เลขของฉบับที่), เลขหน้า. URL
                      กรณีมีเลข DOI หรือ URL ให้เติมต่อท้ายจากฐานข้อมูล ตัวอย่าง ชื่อฐานข้อมูล. https://doi.org/xxxx
                      Chaudhuri, S., & Biswas, A. (2017). External terms-of-trade and labor market imperfections in developing countries: Theory and evidence. 
                              Proceedings of the Academy of Economics and Economic Education, 20(1), 11–16. https://search-proquest-com.elibrary.jcu.edu.au
                              /docview/1928612180?accountid=16285
                 4.3  เอกสารประกอบการประชุม/การประชุมวิชาการที่ไม่มี Proceeding
                      ชื่อ นามสกุล. (ปี, วัน เดือน). ชื่อเรื่องที่นำเสนอ. ใน ชื่อ (ประธาน), ชื่อหัวข้อการประชุม [Symposium]. ชื่อการประชุม, สถานที่ประชุม.
                      Contributor, A. & Contributor, B.  (Year, Month day). Title of contribution. In ชื่อ (Chair), Title of the Symposium [Symposium]. 
                              Conference Name, Location.
                      De Boer, D., & LaFavor, T. (2018, April 26–29). The art and significance of successfully identifying resilient individuals: A person-focused
                              approach. In A. M. Schmidt & A. Kryvanos (Chairs), Perspectives on resilience: Conceptualization, measurement, and enhancement
                              [Symposium]. Western Psychological Association 98th Annual Convention, United States.

             5. หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 
                      ชื่อ นามสกุล. (ปี, วัน เดือน). ชื่อคอลัมน์. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า. URL(ถ้ามี)
                      Author, A. A. (Year, Month day). Column name. Newspaper nameเลขหน้า. URL(ถ้ามี)
                      พงษ์พรรณ บุญเลิศ. (2561, 15 สิงหาคม). เดลินิวส์วาไรตี้: ‘สื่อพิพิธภัณฑ์’ เชื่อมยุคสมัย เข้าถึงด้วย ‘มิติใหม่’ อินเทรนด์. เดลินิวส์, 4.
                              http://lib.edu.chula.ac.th/fileroom/cu_formclipping/drawer006/general/data0013/00013005.pdf
                      Brody, J. E. (2007, December 11). Mental reserves keep brain agile. The NewYork Times. nytimes.com

             6. รายงานที่จัดทำโดยหน่วยงานรัฐหรือองค์กรอื่น
                      ชื่อหน่วยงาน. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. สำนักพิมพ์. URL(ถ้ามี)
                      สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). รายงานประจำปี 2561. 21 เซ็นจูรี่. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/
                              ocsc_annual_report_2561.pdf
                      National Cancer Institute. (2019). Taking time: Support for people with cancer. Department of Health and HumanServices,
                              National Institutes of Health. https://www.cancer.gov/publications/patient-education/takingtime.pdf

             7. เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (เอกสารประกอบการเรียน)
                      ชื่อ นามสกุล. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเอกสาร[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะ, มหาวิทยาลัย.
                      Author, A. A. (Year). ชื่อเอกสาร [Unpublished manuscript]. คณะ, มหาวิทยาลัย.
                      อัญญมณี บุญซื่อ. (2556). การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
                              คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                      Blackwell, E., & Conrod, P. J. (2003). A five-dimensionalmeasure of drinking motives [Unpublished manuscript]. Department of Psychology,
                              Universityof British Columbia.

             8. เว็บไซต์
                      ชื่อ นามสกุล. (ปี, วัน เดือนที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อเว็บไซต์. URL
                      Author, A. A. (Year, Month day). Title. Website name. URL
                      เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2554, 27 เมษายน). การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา. จุฬาวิทยานุกรม (Chulapedia). http://www.chulapedia.chula.ac.th/
                              index.php?title=การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา
                      Centers for Disease Control and Prevention. (2018, August 22). Preventing HPV–associated cancers. https://www.cdc.gov/cancer/
                              hpv/basic_info/prevention.htm

© 2022 CMRU Library

Made with by ThemeWagon