CMRU LIBRARY RECOMMENDATIONS ประจำเดือนมีนาคม 2567

21 มีนาคม พ.ศ. 2567 โดย จิตรดา หมั่นขีด

          เนื่องจากวันที่ 13 มีนาคม ของทุก ๆ ปี เป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ "วันช้างไทย" CMRU LIBRARY RECOMMENDATIONS ประจำเดือนมีนาคม 2567 ทางทีมงานของเราจึงขอนำเสนอทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับช้างค่ะ ต้องบอกก่อนว่าในอดีตช้างถือเป็นสัตว์ที่อยู่คู่คนไทยมาหลายร้อยปีเลยนะคะ ตั้งแต่ช่วงที่ก่อนสงครามจนมาถึงปัจจุบันเลย ตามมาดูกันค่ะว่าในเดือนนี้ทีมงานของเราจะนำเสนอเรื่องราวของช้างในรูปแบบใดบ้าง..

ชื่อเรื่อง : ช ช้าง กับ ฅ ฅน
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00088632
ผู้แนะนำ : ชุติมา พรมเสนใจ
         หนังสือที่รวบรวมเรื่องสัพเพเหระ ระหว่างคนกับช้าง ที่ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงความแสนรู้ แต่หนังสือเล่มนี้จะมีรายละเอียดที่ลงลึกมากกว่า เนื่องจากผู้แต่ง คุณศรัณย์ ทองปาน ได้สืบเสาะ ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับช้าง แล้วนำมาเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ ตั้งแต่ต้นกำเนิดของช้าง มาจนถึงความเชื่อที่ว่าช้างเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ การรบบนหลังช้าง การจับช้าง การมอบบรรณาการ และเรื่องราวอื่น ๆ ที่ “คน” และ “ช้าง” ล้วนเกี่ยวข้องกัน  สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุด ชั้น 3 ได้เลยค่ะ

ชื่อเรื่อง : ช้างไทย
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00067487
ผู้แนะนำ : ชุติมา พรมเสนใจ
          ช้างนั้นเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเรามาอย่างช้านาน จากประวัติศาสตร์ที่มีการออกรบโดยใช้ช้างร่วมด้วย และสังเกตได้จากสัญลักษณ์บนสิ่งต่าง ๆ ที่มีรูปช้างปรากฏอยู่ ทำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นสัตว์ประจำชาติ แต่ดูเหมือนว่าในบางข้อสงสัยของเราที่เกี่ยวกับสัตว์ตัวโตนี้ยังคงไม่ได้รับการเฉลย ดังนั้นจึงขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ค่ะ “ช้างไทย” ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช้างและการคลายข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ว่า จริงหรือที่งาคือเขี้ยว ทำไมช้างถึงมีงวง รวมไปถึงการฝึกช้าง  ช้างเผือก ช้างงาน เป็นต้น สนใจศึกษารายละเอียดเรื่องช้าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุดชั้น 4 และห้องสมุดศูนย์แม่ริม 2 ได้เลยค่ะ

ชื่อเรื่อง : The Living Elephants : Evolutionary Ecology, Behaviour, and Conservation
eBook Collection (EBSCOhost) : https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=nlebk&AN=92710&site=ehost-live
เงื่อนไข : เข้าผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยหรือเข้าผ่าน SSL-VPN สามารถดูคู่มือได้ที่ http://www.lib.cmru.ac.th/web62/core/FILE/1551088238.pdf
ผู้แนะนำ : นางสาวจิตรดา หมั่นขีด และนางสาวสุรดา ปฐวีวิจิตร
          eBook เล่มนี้มาจากการสำรวจประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ 60 ล้านปีของสัตว์งวง สภาพอากาศและพืชพรรณก่อให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ การสูญพันธุ์ของแมมมอธ สังคมและการสืบพันธุ์ของช้าง พฤติกรรม การสื่อสาร การหาอาหารถิ่นที่อยู่ของช้าง พลวัตของประชากรช้าง การล่างาช้างและความอยู่รอดของช้าง  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับช้าง และเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ช้างในระยะยาว

ชื่อเรื่อง : Elephant
GALE EBOOK : https://link.gale.com/apps/doc/CX8124400892/GVRL?u=thcmru&sid=bookmark-GVRL&xid=77eac3ed
From : The Gale Encyclopedia of Science(Vol. 3. 6th ed.)
เงื่อนไข : เข้าผ่าน Wi-Fi ของมหาวิทยาลัยหรือเข้าผ่าน SSL-VPN สามารถดูคู่มือได้ที่ http://www.lib.cmru.ac.th/web62/core/FILE/1551088238.pdf
ผู้แนะนำ : นางสาวจิตรดา หมั่นขีด และนางสาวสุรดา ปฐวีวิจิตร
          eBook เล่มนี้ได้กล่าวถึงช้าง โดยมีหัวข้อตั้งแต่วิวัฒนาการ ร่างกาย มีการอธิบายส่วนต่าง ๆ ได้แก่ แขน ขา ศีรษะ ปากและลำตัว ฟัน หู ดวงตา นอกจากนี้ยังพูดถึงพฤติกรรมทางสังคม โครงสร้างการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การผสมพันธุ์ การสื่อสาร การตาย ที่อยู่อาศัยและอาหาร รวมทั้งแนวโน้มในอนาคตของช้างด้วย

ชื่อเรื่อง : ความลับของเหล่าคชสาร
ชื่อวารสาร : National Geographic (ฉบับภาษาไทย) ปีที่ 22 ฉบับที่ 262 (พ.ค.) 2566, หน้า 28-65.
Collection : ห้องวารสารล่วงเวลา ชั้น 2
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00058267
หมายเหตุ : ผู้ใช้สามารถติดต่อเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 เพื่อรับตัวเล่มสำหรับการอ่านบทความ
ผู้แนะนำ : นางสาววรัฏฐา กัวตระกูล
          ช้าง สัตว์ที่ได้ชื่อว่าชาญฉลาดที่สุดชนิดหนึ่งกำลังเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์ แต่มนุษย์เราพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันกับพวกมันหรือไม่ มาร่วมหาคำตอบกันที่บทความเรื่อง ความลับของเหล่าคชสาร บทความที่จะพาท่องโลกเรียนรู้การใช้ชีวิตระหว่างคนกับช้างในหลากหลายพื้นที่ และเรื่องราวการทดสอบความชาญฉลาดของช้าง โดยคุณศรนาถ เปรูร์ นักเขียนและนักแปลที่พำนักในเบงคลูและธรรมศาลา ประเทศอินเดีย

ชื่อเรื่อง : ปัญญาแห่งช้างป่า 
ชื่อวารสาร : National Geographic (ฉบับภาษาไทย) ปีที่ 22 ฉบับที่ 262 (พ.ค.) 2566, หน้า 66-83.
Collection : ห้องวารสารล่วงเวลา ชั้น 2
Link OPAC : https://opac.cmru.ac.th/bibitem?bibid=b00058267
หมายเหตุ : ผู้ใช้สามารถติดต่อเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 2 เพื่อรับตัวเล่มสำหรับการอ่านบทความ
ผู้แนะนำ : นางสาววรัฏฐา กัวตระกูล
          นักวิจัยกล่าวว่า ช้างป่าไทยอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ 69 แห่งทั่วประเทศ แต่มีพื้นที่ถึง 41 แห่งที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หนึ่งในนั้นคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของห้าจังหวัด ได้แก่ อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา, อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว, อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง, อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ป่าผืนนี้เคยมีช้างป่าอาศัยอยู่ประมาณ 400 ตัว แต่จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกพื้นที่ป่าในอดีตเพื่อการทำเกษตร และความแห้งแล้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผืนป่าที่เคยเป็นแหล่งอาหารที่ช้างสามารถหากินได้มากพอ กลับขาดแคลนอย่างหนัก เหล่าช้างจึงต้องออกมาหาอาหารนอกป่าในพื้นที่ทำมาหากินของชาวบ้านเพื่อความอยู่รอด และนั่นจึงกลายเป็นความขัดแย้งของคนกับช้างป่าที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ 
          บทความนี้จึงเป็นการเล่าเรื่องราวการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้งของคนกับช้าง ในขณะที่คนยังคิดว่าช้างไม่เรียนรู้แต่ช้างเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาอยู่ตลอด และยังเรียนรู้ระดับกลุ่มด้วย

 

ชื่อเรื่อง : The Magician's Elephant มนตร์คาถากับช้างวิเศษ
Location : บริการยืม - คืน สื่อโสตทัศน์ ชั้น 7 สำนักหอสมุด
ผู้แนะนำ : นายสุทัศน์ เขียวนิล
          ขณะออกตามหาน้องสาวที่พลัดพรากจากกันไปนานของปีเตอร์ ในวัยหนุ่ม เขาได้มาเจอกับหมอดูในตลาด คำถามเดียวที่ยังคาใจเขาในตอนนั้นก็คือน้องสาวยังมีชีวิตอยู่ไหม คำตอบที่ได้ก็คือเขาจะต้องตามช้างปริศนาไป และนั่นคือจุดเริ่มต้น  ปีเตอร์ได้พบกับการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่เพื่อทำภารกิจสุดหิน ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองนี้ด้วยความมหัศจรรย์ไปตลอดกาล

ชื่อเรื่อง : The Elephant Whisperers คนกล่อมช้าง
Location : บริการยืม - คืน สื่อโสตทัศน์ ชั้น 7 สำนักหอสมุด
ผู้แนะนำ : นายสุทัศน์ เขียวนิล
          สารคดีที่ได้รับรางวัล Oscar ประจำปี 2023 ครั้งที่ 95 ในหมวดสารคดีสั้นในวันช้างไทย ผลงานสารคดีถ่ายทอดเรื่องราวของสามีภรรยาที่ใช้ชีวิตอยู่ในหุบเขาอันเงียบสงบทางตอนใต้ของอินเดีย แล้วรับดูแลลูกช้างกำพร้าเหมือนลูกคนหนึ่ง สร้างสัมพันธ์จนเป็นครอบครัวเดียวกัน

 


สำนักหอสมุด "มุ่งมั่นให้บริการ สร้างสรรค์ความรู้สู่ชุมชน"